ก้าวไกล Next

ย้อนกลับ

สื่อสาร ด้วย ภาษา ideology เป็นอันดับแรก อย่าพูดเหมือน business presentation

OurNextFuture OurNextFuture  •  2022-08-08  •    7 ความคิดเห็น  • 

ข้อเสนอ:

ใช้การสื่อสาร ด้วยภาษาideology 

หรือการเน้นย้ำ เรื่องไอเดียโลจี และ อีโมชัน

เป็นหลักในการสื่อสารกับแมส  

เก็บรายละเอียดต่างๆ ไว้ในเวทีที่จำเป็นต้องใช้ก็พอ                 

 

 นิยาม :                         

 

ภาษา ไอเดียโลจี ในที่นี้ 

คือ เน้นการพูดถึง  value และหลักการ

ที่ สอดคล้องกับสังคม ที่เราต้องการจะเห็นในอนาคต

เสริมด้วยการ วาดภาพ จินตนาการเกี่ยวกับอนาคต 

และ ย้ำว่า ภาพเหล่านี้ มันคือการทำให้ หลักการและแวลู่ เหล่านั้น กลายเป็นความจริง 

 

เพื่อความสะดวกต่อไปนี้จะเรียก ภาษาไอเดียโลจี ว่า"ภาษา I"

 

ซึ่งการสื่อสารแบบนี้จะ โน้มน้าวคนได้ง่ายกว่า

เพราะคนตัดสินใจทางการเมือง ได้ง่ายกว่า

เมื่อรู้ว่า สิ่งที่ตัดสินใจนั้น ตรงกับแวลลู่สำคัญๆของตัวเอง

 

ตัวอย่าง : สมรสเท่าเทียม จับใจคนง่ายเพราะมีมิติของ ภาษา I เยอะ 

คนไม่รู้รายละเอียดอะไรมาก หรือไม่ได้ตัดสินใจด้วยรายละเอียด

แต่มันย้ำว่า ทำให้คนที่ไม่เคยได้อะไรบางอย่างที่คนอื่นได้เขาได้สิ่งนั้น เท่าเทียม เท่ากัน (ส่วนนี้คือการย้ำ value )

และพรรคสื่อสารในสภา ด้วยเมสเสจแบบนี้ได้ดีด้วย (รวมถึงมีความอีโมชันแนลด้วย)

 

นิยาม : ภาษาแบบเทคโนแครต หรือแบบ business proposal 

คือ อธิบายรูปธรรมในรายละเอียด เป็นตัวเลข  เป็นกราฟ พูดถึงแวลู่ค่อนข้างน้อย หรือไม่พูดเลย 

บนการแอสซูมว่า ทุกคนมีแวลู่เดียวกัน หรือสมาทานหลักการนั้นอยู่แล้ว 

 

แบบหลัง แม้ว่าในบางบริบทเช่นการสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงาน หรือระหว่างโพลิซีเมคเกอร์ หรือในการอภิปรายในสภา  จะจำเป็น 

แต่สำหรับการโน้มน้าวคนส่วนใหญ่ หรือการขายนโยบายมันไม่ค่อยเวิร์กเท่าภาษา I 

ควรเก็บเอาไว้ ใช้ในโอกาสที่จำเป็นหรือเป็นส่วนเสริม  เช่นถ้าภาษาไอเดียโลจี ชัดเจนแล้ว ภาษา เทคนิคจะช่วย ย้ำให้แข็งแรงขึ้น แบบนี้จะดี  มากกว่าจะไฮไลท์ออกมาเป็นอันดับแรก

 

นิยาม : ภาษา emotional 

 

คืออะไรที่มันกระตุ้นemotional respond  แบบที่ไม่ต้องอธิบายด้วยเหตุผล หรือกระตุ้นempathy 

ในขณะที่ภาษาไอเดียโลจี หรือภาษา I มีเหตุผลอยู่ในนั้นด้วย ภาษาE ไม่มีคำอธิบายแบบนั้น 

 

เพื่อความสะดวกต่อไปนี้จะเรียก ภาษา emotional  ว่า"ภาษา E" 

 

ทุกคนจำ ปัดโถ่ว ซึ่งเหมือนไม่มีอะไรเลย หรือ วิโรจน์ก้าวไก่ ได้ 

และคนจำนวนไม่น้อยเลือกด้วยอะไรแบบนี้ 

ส่วนตัวหาเสียงให้วิโรจน์ก้าวไก่ได้ ด้วยการส่งเพลงนี้ให้ แล้วบอกว่า นโยบายอยู่ในเพลง 

อยากได้อะไรเพิ่มหาฟังดีเบท(ซึ่งคุณวิโรจน์ก็สื่อสารภาษา I ได้ดีมาก) 

เขาก็เลือกก้าวไกล ทั้งสองใบ 😂

ดังนั้นพรรคควรใช้ตรงนี้ให้มากกว่านี้ ให้เป็นหนึ่งในส่วนหลักของการสื่อสาร

 

ตัวอย่าง : วิโรจน์ก้าวไก่มีทั้งภาษาไอเดียโลจี เพราะตัวเพลงพูดเมสเสจสำคัญๆ ที่เป็นทั้งแวลลู่ เช่นสร้างเมืองที่คนเท่ากัน เอาประชาชนมาก่อนนายทุนใหญ่  และจินตนาการถึงอนาคตแบบออกมาเป็นฉากๆ. ที่สอดรับกับแวลลู่ที่ประกาศออกมา 

ส่วนนี้คือภาษา I 

และก็มีภาพเต้นที่ทุกคนลบออกจากหัวไม่ได้ 

รวมถึงความหลอนหูที่ทำงานในด้านอีโมชันแนล

ซึ่งก็คือภาษา E

 

ในแง่ซีนนาริโอ คนจำนวนมากมีโอกาสจำเพลงแบบนี้ซึ่งมีทั้ง I และ E

แล้วกาให้วิโรจน์มากกว่าการให้เหตุผลยืดยาว

 

สรุปเป็นกิมมิคให้จำได้ง่ายๆ : 

 

ขอให้ฝ่ายสื่อสารพยามใช้ I & E language เป็นหลักในการสื่อสาร

และใช้ภาษาแนวๆเทคโนแครต เฉพาะในบริบทที่จำเป็น หรือเป็นส่วนเสริมของ I & E  เท่านั้น 

 

ภาคผนวก

 1. ภาษา I และ E อาจจะมีความหลากหลายของ ของ ท่าที ในการพูด อ่อนโยน ดุดัน ดูมีการศึกษาหรือ บ้านๆ แต่ถ้ามันมีคุณสมบัติตามนิยาม มันก็จัด เป็น เป็นภาษา I ทั้งนั้น

 

 2.  อย่าตกหล่ม  ไปกับ มายาคติ  ที่ว่า ชาวบ้านไม่เข้าใจภาษายากๆ

มันเป็นมายาคติ ไม่ใช่ปัญหาจริง  อะไรที่ชนชั้นกลางที่สนใจการเมืองทั่วไปเข้าใจ ชาวบ้านไทยที่สนใจการเมืองก็เข้าใจแน่

 

ถ้าเราขายแวลู่ หรือ ความหวัง ให้ชนชั้นกลางที่ไม่สนใจการเมืองนัก ได้ เราก็ขายสิ่งนั้นให้คนตจว.ได้ แค่นั้นเลย 

 

 ตัวอย่าง ที่ยืนยันแฟคท์ ข้อนี้ 

คนที่พูดภาษา I และ E ชัดๆคือ คุณษัษรัมย์  คุณธนาธร และคุณวิโรจน์ที่ใช้วิธีนี้ชัดเจนในการเลือกตั้งกทม 

คุณให้คนแบบษัษฐรัมย์พูด คนทีฟัง ษัษฐรัมมักอินง่ายกว่า  ไม่ใช่เพราะเค้าพูดภาษา ที่คนทั่วไปมีภาพจำว่าเป็นภาษาชาวบ้านเลย  แต่เพราะเค้าพูดถึง แวลลู่ๆ  ย้ำแล้วย้ำอีก แล้วยกตัวอย่างที มันสะเทือนใจ (ภาษา E) ให้คนอินได้

 ธนาธร  ก็ชอบ ใช้คำวิลิศมาหรา ภาษาโคตรนักวิชาการ แต่มันมีแวลลู่ชัดเจนย้ำซ้ำๆ มันมีแพสชั่น มันมีจินตนาการของอนาคต  มันย้ำหลักการซ้ำๆ  ในนั้น ซึ่งคนทุกกลุ่มเข้าใจได้ และซื้อ รวมถึงคนที่คุณบอกว่า เป็นชาวบ้าน โดยเฉพาะที่สนใจการเมือง ก็ซื้อ 

 

3. ปัญหาจริงของเราคือคนทำนโยบายพรรคเรา  อาจ มาจากวงการ  policy adviser และ บิสเนส  ซึ่งก็ดี

 แต่ คนวงการนี้ เคยชินกับการพรีเซนท์ รายละเอียด ซึ่ง คนแทบทุกกลุ่มนอกวงการไม่อิน 

ดังนั้น  ปัญหาของเรา ไม่ใช่ภาษาของเรา ไม่ชาวบ้าน แต่ปัญหาของเรา  คือเราเผลอใช้ภาษาเทคโนแครต ภาษาสเปเชียลลิสท์ บ่อย  ซึ่งไม่มีใคร ไม่มีชนชั้นไหน  นอกจากเทคโนแครตด้วยกัน จะอิน    

 ดังนั้น ความท้าทายสำคัญคือ การที่พรรค จะต้อง ช่วยกันพัฒนาเทคนิค  การเอาสิ่งที่เป็นideology ออกมา ไฮไลท์  ซึ่งถ้าเราเอาออกมาได้ มันก็จะปังแน่ๆ   

 

4. ข้อเสนอที่ว่า ควรใช้ภาษา I และ E  นั้น ไม่ใช่ ให้พูดภาษาชาวบ้าน อาจจะตรงกันข้าม  กับสิ่งที่คิดว่าเป็นภาษาชาวบ้านด้วยซ้ำ

 

 แต่ข้อเท็จจริง ที่ตรงกันข้ามกับมายาคติ คือ ชาวบ้านจริงๆ เข้าใจสิ่งนี้ได้  และอินกับสิ่งนี้ได้แน่ๆ 

 

5. ท้ายสุด ข้อเสนอนี้คือ ใช้ ภาษา I & E พยามอย่าส่งต่อ ด้วยการบอกว่า  ใช้ภาษาชาวบ้าน ซึ่งมันมีนัยยะที่ทำให้คนเข้าใจผิดได้ เพราะ บางคนอาจได้ยินคำนี้ จะเข้าใจผิดว่า ไม่พูดเรื่องหลักการและแวลลู่เยอะ พูดแต่สิ่งจับต้องได้ ซึ่งไม่ใช่ ตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงเลย  และเราจะ ลบจุดแข็งที่ทำให้คนเลือกเราในทีแรกด้วย  ถ้าทำแบบนั้น 

ความคิดเห็น (7)

คุณต้อง เข้าสู่ระบบ หรือ สร้างบัญชี เพื่อแสดงความคิดเห็น
  • OurNextFuture
    OurNextFuture  •  ผู้เขียน  •  2022-08-18 01:55:43

    ตัวอย่างสิ่งที่โคตรจะเป็น ภาษา I & E
    คือ ศัษฐรัม เวลาพูดเรืทีอง นัฐสวัสดิการ. ใครฟังแล้วไม่ move บ้าง
    พูดเลย ว่าแบบนี้แหละคือ ภาษาที่คนฟังฟังแล้ว จะ ตบ อก ผางแล้วซื้อเลย โดยแทบไม่ต้องมีตัวเลข กราฟ ชาร์ท อะไรเลย.
    ย้ำอุดมการณ์รัวๆแบบนี้แหละ
    ธนาธรก็ใช้เมสเสจแบบนี้แต่คนละสไตล์ แต่นี่แหละคทอตัวอย่าง ภาษา I &E
    (คลิปนี้น่าจะอยู่ได้อีกไม่กี่วัน เห็นว่าทวิตเตอร์ มันจะทยอยลบคลิปเก่าๆ ที่เกินเดือนทิ้ง รีบไปฟังกันนะ. )

    https://twitter.com/i/spaces/1djGXPlvzmEGZ

    ไม่มีความคิดเห็น
    0 คะแนน  | 
    0
    0
    • OurNextFuture
      OurNextFuture  •  ผู้เขียน  •  2022-08-09 00:11:18

      สิ่งหนึ่งที่เราจะได้เป็นผลพลอยได้จากการทำแบบนี้ด้วย
      คือ มันทำให้จุดยืนของหลักการของพรรคมันชัดเจน ทั้งกับเมมเบอร์ โหวตเตอร์ และแนวร่วม ซึ่งความชัดเจน จะสร้างแบรนด์พรรคที่ดีในระยะยาว และการสร้างเครือข่ายประชาชนรอบๆพรรคมันทำได้ง่ายขึ้น เนื่องจากทุกคนเห็นภาพใหญ่คล้ายกัน

      อีกอย่างหนึ่ง คือ จะช่วยในการสกรีนผู้สมัครด้วย
      การที่แบรนด์ ของพรรคมันชัดเจน การที่จุดยืนทางอุดมการณ์ของพรรคมันชัดจนใครๆก็เห็น มันกันปัญหางูเห่าในทางอ้อมได้ด้วย เพราะได้เป็นสส พรรคนี้แล้ว พรรคอื่นไม่กล้ารับ (ฮา)
      แต่นี่พูดจริงๆ ไม่ได้ล้อเล่น ถ้าเอฟเฟคท์นี้เกิดขึ้น สามารถทำให้พวกนักฉวยโอกาส ไม่กล้าสมัครเป็น สส พรรคนี้

      ไม่มีความคิดเห็น
      0 คะแนน  | 
      0
      0
      • Admin

        ชอบความเห็นนี้มากๆ ครับ จะแจ้งทีมสื่อให้พยายามปรับภาษาชาวบ้านมากขึ้น

        • OurNextFuture
          OurNextFuture  •  ผู้เขียน  •  2022-08-08 20:42:18

          ตัวอย่างคนที่พูด ภาษาไอเดียโลจี ที่เด่นๆ ในพรรค คือ ช่อ ธนาธร วิโรจน์ (ในการหาเสียงกทม.) ปิยบุตร เบญจา

          • OurNextFuture
            OurNextFuture  •  ผู้เขียน  •  2022-08-09 11:50:30

            อีกคนที่เด่นมากทีี่ไม่ใช่ สส คือคุณ ศัษฐรัมย์ อันนั้นภาษาI&E มาเต็มมากกกกก

            ไม่มีความคิดเห็น
            0 คะแนน  | 
            0
            0
          • OurNextFuture
            OurNextFuture  •  ผู้เขียน  •  2022-08-08 20:32:20

            ภาษา ไอเดียโลจี ไม่ใช่ "ภาษาชาวบ้าน" นะครับ ถ้าชาวบ้าน หรือประชาชนเคยชินกับสื่อ หรือภาษาจารีต ภาษาชาวบ้าน ก็อาจจะมีปัญหาได้ครับ
            ภาษาไอเดียโลจี คิอตามนิยามที่ว่าไปตอนแรกอ่ะครับ ย้ำเรื่องคุณค่า/หลักการ พร้อมไปกับเสนอ จินตนาการว่า สิ่งดีดีที่จะเกิดคืออะไร แล้วขยี้อีกว่า ภาพจินตนาการนั้น สอดคล้องกับ แวลลู่ /หลักการนั้นยังไง

            คุณจะใช้ศัพท์เทคนิค ใช้ศัพท์ฝรั่งสัก2-3 คำก็ได้ (บ่อยครั้งยิ่งดีเพราะประชาชนจำง่าย และมันดูใหม่สำหรับแมส) แค่ชี้ให้เห็นว่ามันคือคุณค่าอะไร มันนำมาซึ่งอนาคตแบบไหน แล้วมันทำให้หลักการ/แวลลู่ มันกลายเป็นจริงได้ไง

            • OurNextFuture
              OurNextFuture  •  ผู้เขียน  •  2022-08-09 18:15:54

              เข้าใจว่าคุณแอดมินอาจจะพยามสื่ี่อว่า พูดภาษาที่ชาวบ้านทุกกลุ่มเข้าใจ แต่ก็ขออนุญาต clarify เผื่อผู้อ่านคนอื่น นิดนึงแล้วกันเพือไม่ให้สื่อสารกันผิด 😊

              ไม่มีความคิดเห็น
              0 คะแนน  | 
              0
              0